หน้าแรก ITA แบบสอบถามความฯ Facebook Admin webmail   facebook   Line

วิธีป้องกันและแนวทางเมื่อเด็กถูกล่วงละเมิดทางเพศ

วิธีป้องกันและแนวทางเมื่อเด็กถูกล่วงละเมิดทางเพศ

การล่วงละเมิดทางเพศ (Sexual Harassment) เป็นสิ่งที่ไม่ควรเกิดขึ้นไม่ว่าจะกับใครหรือเพศไหนก็ตาม โดยเฉพาะกับ “เด็ก” ที่ยังไม่สามารถปกป้องตนเองได้ การล่วงละเมิดเด็ก ไม่ได้เกิดขึ้นจากบุคคลแปลกหน้าภายนอกเท่านั้น แต่กระทั่งคนรู้จักใกล้ชิด เพื่อนบ้าน ครู ญาติพี่น้อง หรือแม้แต่คนในครอบครัวเอง ก็อาจเป็นผู้กระทำได้เช่นกัน
 

การล่วงละเมิดทางเพศ (Sexual Harassment) คืออะไร?

การคุกคามทางเพศ หรือการล่วงละเมิดทางเพศ คือ การกระทำ/พฤติกรรมที่มีเจตนาไม่ดี แสดงออกถึงนัยยะทางเพศต่อเพศตรงข้าม หรือเพศเดียวกัน โดยไม่ได้รับการยินยอมจากอีกฝ่าย ทำให้ผู้ถูกกระทำรู้สึกไม่ดี ไม่ปลอดภัย หรือถูกลดทอนศักดิ์ศรีคุณค่าความเป็นมนุษย์ ซึ่งการกระทำดังกล่าวหมายรวมถึงรูปแบบต่างๆ ดังนี้

1. การสัมผัสทางกาย (Physical Conduct) คือ การใช้อวัยวะสัมผัสถูกร่างกายของอีกฝ่ายโดยไม่ได้รับอนุญาต หรือบังคับให้ผู้อื่นสัมผัสร่างกายตนเอง เช่น การโอบกอด แตะเนื้อต้องตัว ลูบไล้ เป็นต้น

2. การแสดงออกทางวาจา (Verbal  Conduct) คือ การใช้คำพูดล่วงเกิน ล้อเลียน พูดถึงสัดส่วนร่างกาย รวมถึงมุกตลกเรื่องเพศที่ทำให้ผู้ถูกกล่าวถึงรู้สึกแย่ ไม่ปลอดภัย

3. การแสดงออกทางกริยาท่าทาง สายตา (Visual Conduct) คือ การใช้กริยา ท่าทาง หรือสายตา แสดงออกถึงความรู้สึกทางเพศที่ทำให้ผู้ถูกกระทำรู้สึกหวาดกลัว ขยะแขยง เช่น การใช้สายตาจ้องมองแทะโลม การทำมือสื่อถึงท่าทางเพศ เป็นต้น

4. การส่งข้อความอนาจาร (Written Conduct) คือ ข้อความที่ผ่านการเขียน หรือพิมพ์ ในเชิงส่อไปทางเพศ ไม่ว่าจะเป็นการส่งส่วนตัว ผ่านสื่อออนไลน์ รวมถึงการส่งรูปภาพอนาจารให้แก่ผู้อื่น

 

ผลกระทบจากการถูกล่วงละเมิดทางเพศ

ผลกระทบจากการถูกล่วงละเมิดมีผลข้างเคียงทั้งในระยะสั้นและระยะยาว โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากการละเมิดนั้นเกิดขึ้นในวัยเด็ก แม้ในตอนที่ถูกกระทำ เด็กอาจจะยังไม่เข้าใจว่าการถูกละเมิดเป็นอย่างไร แต่พวกเขาจะจดจำความรู้สึกนั้นกระทั่งเติบโตขึ้น และเริ่มเข้าใจว่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับตนเองนั้นคือ การถูกล่วงละเมิดทางเพศ ซึ่งก่อให้เกิดบาดแผลในใจตามมา

1. ผลทางร่างกาย (Physical Effects) อาการบอบช้ำทั้งการถูกกระทำที่รุนแรง รวมถึงสภาพร่างกายที่ย่ำแย่จากภาวะความเครียด

2. ผลทางจิตใจ (Emotional / Mental Health Effects) ผลกระทบทางจิตใจจะก่อให้เกิดปัญหาในระยะยาว ทั้งภาวะความเครียด ความหวาดกลัว หวาดระแวง ความรู้สึกด้อยค่าในตนเอง ซึ่งอาจนำไปสู่อาการป่วยทางจิตเวช เช่น โรคซึมเศร้า โรควิตกกังวล (PTSD) เป็นต้น

เรื่องที่เกี่ยวข้อง

No comments yet